ความหมายและหลักการของคุณธรรม ศีลธรรม จริยธรรม
จรรยาบรรณ และธรรมาภิบาล
ปฐมเหตุแห่งการนำเสนอบทความนี้มาจากนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
(นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ) ที่ กำหนดให้สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ จัดให้มีการจัดระบบจูงใจ
ให้คนทำดี ได้ดี มีรางวัลตอบแทน เป็นการพิจารณาให้ความดีความชอบของข้าราชการ
ประจำปี ที่ทำงานด้านส่งเสริมคุณธรรมศีลธรรมของสถานศึกษา
จึงต้องมีข้อตกลงเบื้องต้นว่างานคุณธรรม ศีลธรรมคืออะไร และจะเกี่ยวข้องกับบุคลากร
3 ฝ่าย ได้แก่ กลุ่มผู้บริหารโครงการ กลุ่มจัดการเรียนการสอน
และกลุ่มจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร นอกจากนี้
คำว่า
คุณธรรม ศีลธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณ ธรรมาภิบาล และสมรรถนะ
มักมีผู้นำไปใช้ในความหมายที่แตกต่าง สับสน และไม่ตรงกับความหมายที่แท้จริง
ดังนั้นการทำความเข้าใจตั้งแต่ รากศัพท์ ความหมายและประโยชน์ในการนำไปใช้ จะช่วยให้ทุกฝ่ายทำงานร่วมกันได้ดี
เป้าหมายปลายทาง
คุณธรรม (Moral) ศีลธรรม
(Moral) จริยธรรม (Ethics)และ จรรยาบรรณ (Code
of Conduct)มีเป้าหมายใช้เพื่อการควบคุมตนเอง และส่งผลต่อ พฤติกรรมของบุคคลนั้น ส่วนธรรมาภิบาล (Good
Governance) และ
ขีดสมรรถนะ (Competency)
ใช้เพื่อเป็นกลไกควบคุม โครงสร้าง ระบบ
และกระบวนการส่งผลต่อการปฏิบัติงานของหน่วยงานหรือองค์กร
คุณธรรม (Moral / Virtue)
“คุณธรรม” คือ คุณ + ธรรมะ คุณงามความดีที่เป็นธรรมชาติ ก่อให้เกิด ประโยชน์ต่อตนเองและ สังคม
ซึ่งรวมสรุปว่าคือ สภาพคุณงาม ความดี
คุณธรรม (Virtue) แนวความคิดที่ดีเป็นตัวบังคับให้ประพฤติดี
1. สภาพคุณงามความดีทางความประพฤติและจิตใจ
2. คุณธรรม คือจริยธรรมที่แยกเป็นรายละเอียดแต่ละประเภท
หากประพฤติปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ
ก็จะเป็นสภาพคุณงามความดีทางความประพฤติและจิตใจของผู้นั้น
จริยธรรม(Ethics)
ความเป็นผู้มีจิตใจสะอาด บริสุทธิ์ เสียสละหรือประพฤติดีงาม
1. ประมวล กฎหมาย ที่กลุ่มชนหรือสังคมหนึ่งๆ
ยอมรับเป็นแนวควบคุมความประพฤติ
เพื่อแยกแยะให้เห็นว่าอะไรควรหรือไปกันได้กับการบรรลุวัตถุประสงค์ของกลุ่ม
2. ปรัชญาสาขาหนึ่งว่าด้วย ความประพฤติ และการครองชีวิต ว่าอะไรดี อะไรชั่ว
อะไรถูก อะไรผิด หรืออะไรควร อะไรไม่ควร
3. กฎเกณฑ์ความประพฤติของมนุษย์ซึ่งเกิดขึ้นจากธรรมชาติของมนุษย์เอง ได้แก่
ความเป็นผู้มีปัญญา และเหตุผลหรือปรีชาญาณทำให้มนุษย์มีมโนธรรมและ
รู้จักไตร่ตรองแยกแยะความดี - ความชั่ว, ถูก -
ผิด,
ควร -
ไม่ควร เป็นการควบคุมตัวเอง และเป็นการควบคุม กันเองในกลุ่ม
หรือเป็นศีลธรรมเฉพาะกลุ่ม
ศีลธรรม (Moral)
1. ความประพฤติที่ดีที่ชอบ
หรือธรรมในระดับศีล หรือกรอบปฎิบัติที่ดี เกี่ยวกับความรู้สึกรับผิดชอบ บริสุทธิ์
เกี่ยวกับจิตใจ
2.
หลักความประพฤติที่ดีสำหรับบุคคลพึงปฏิบัติ
ธรรมาภิบาล คือ ธรรมะ + อภิบาล
หมายถึง
ปกครองด้วยคุณความดี ซื่อตรงต่อกัน มั่นคงในสัญญาที่มีต่อกัน สัญญา (กฎ กติกา มารยาท) ที่ ร่วมกันทำ เป็นธรรม โปร่งใส
รับผิดชอบในสิ่งที่ทำ
- การจัดการปกครอง การบริหารปกครอง การบริหารกิจการบ้านเมือง การควบคุมดูแลกิจการ การกำกับดูแลที่ดี อันเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการ (Process) และระบบ (System) ซึ่งองค์การหรือสังคมได้มีการปฏิบัติหรือดำเนินการ (Operate)
- ธรรมาภิบาล มักครอบคลุมประเด็น ดังนี้
-
การมีส่วนร่วมของประชาชน(Participation)
-
นิติธรรม (Rule of
law)
-
ความโปร่งใส (Transparency)
-
การตอบสนอง (Responsiveness)
-
การแสวงหาฉันทามติ (Consensus
oriented)
-
ความถูกต้อง ความเสมอภาค ยุติธรรม เที่ยงธรรม (Equity)
-
ประสิทธิผลและประสิทธิภาพ (Effectiveness & Efficiency)
-
ภาระรับผิดชอบ (Accountability
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น